วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบริหารเชิงสถานการณ์

                                การบริหารเชิงสถานการณ์
                vroom-yetton contingency model

วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom)
     วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) ต้นกำเนิดคือชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร  โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ    หนังสือของเขาในปี 1964  เรื่อง “Work and Motivation” (งานและการกระตุ้น)  ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสืออีกเล่มของเขา เกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหารLeadership and Decision Making and The New Leadership” (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษาและการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา    ศาสตราจารย์วรูมได้เป็นที่ปรึกษากว่า  50 บริษัท หลักๆคือ Bell Labs (เบลแลป), GTE (จีทีอี), American  Express (อเมริกันเอกซ์เพรส) และ General  Electric (จีอี)
ทฤษฎี Vroom (Vroom theory
      1)  สิ่งสำคัญสำหรับทฤษฎีความคาดหวังก็คือความเข้าใจในเป้าหมายส่วนบุคคล และการมุ่งที่ความสัมพันธ์  3  ประการ คือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามกับการปฏิบัติงาน  (Effort-performance relationship) ซึ่งเป็นการใช้ความพยายามของบุคคลที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงาน
     (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับรางวัล  (Performance-reward  relationship) บุคคลมีความเชื่อว่าการทำงานในระดับในระดับหนึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ
     (3) ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลกับเป้าหมายส่วนบุคคล  (Rewards-personal goals relationship)  องค์การสามารถตอบสนองเป้าหมายหรือความต้องการของบุคคลจากการจูงใจด้วยรางวัลที่มีศักยภาพ 
ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์  :  โมเดล  Vroom – YettonJago
        เป็นทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ที่สำรวจถึงโมเดลการตัดสินใจที่เป็นแบบอย่างวิธีการที่ปัจจัยเชิงสถานการณ์มีผลกระทบต่อระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้อาจเรียกว่า โมเดลการตัดสินใจที่เป็นแบบอย่าง  (Normative decision msde1)  หรือโมเดลความเป็นผู้นำทีเป็นแบบอย่าง  (Normative leadership model) 
 ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์  : 
โมเดล  Vroom – YettonJago
     เพื่อให้เกิดพิจารณารูปแบบที่มีประสิทธิผลสูงสุด  ผู้บริหารจะใช้หลักการตัดสินใจ  (Decision tree)  ซึ่งแนะนำโดยใช้คำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจ ดังภาพโมเดล  ซึ่ง  Vroom  และ  Jago  ได้พัฒนาทางเลือกการตัดสินใจเพื่อช่วยผู้บริหารพิจารณาปัญหาได้กว้างขวางขึ้น  คำถามในทางเลือตัดสินใจได้สำรวจปัจจัยสถานการณ์  4  แบบ  ซึ่งมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ  คือ
                               (1)  คุณภาพการตัดสินใจ 
                               (2)  การยอมรับการตัดสินใจ 
                               (3)  ความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพนักงาน 
                               (4)  ความเกี่ยวข้องกับเวลา
         ผู้บริหารจะใช้เส้นทางการตัดสินใจเพื่อค้นหาข้อเสนอแนะ ซึ่งอาจจะเป็นเผด็จการแต่ให้คำแนะนำหรือรูปแบบผู้นำกลุ่ม ในโมเดลของ  Fiedler  ซึ่งสมมติว่าผู้บริหารไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โมเดล  Vroom-Yetton-Jago  จะช่วยผู้บริหารเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อความเหมาะสม  อย่างไรก็ตามโมเดล  Vroom-Yetton-Jago  ได้วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสถานการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อรูปแบบผู้นำและโมเดลผู้นำ ซึ่งเป็นสิ่งสลับซับซ้อนที่ผู้บริหารพบว่าเป็นการลำบากและใช้เวลามากในการใช้โปรแกรมนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมจะแนะนำผู้บริหารโดยใช้คำถามในการตัดสินใจในทางเลือกและพิจารณารูปแบบผู้นำที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ
 
บรรณานุกรม
 
    รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์, รศ.สมชาย  หิรัญกิตติ, ผศ. ดร.ธนวรรธ  ตั้งสินทรัพย์ศิริ. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: Management and Organizational Behavior. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์
ดร.สาคร  สุขศรีวงศ์. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: บริษัท จี.พี.ไซเบอร์พรินท์ จำกัด,
นิวัติ อัญญะมณี. ความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่องานบริการบำรุงรักษาของ บริษัท เมเปิ้ล โซลูชั่น จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
                                   http://mba.yale.edu/faculty/professors/vroom.shtml
                                   http://www.valuebasedmanagement.net/methods_vroom_expectancy_theory.html
                                   http://www.wmc.ac.uk/flm/motivation/vroom.html
                                   http://www.thaito.com/kmutt/0411.html